วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

                                                                       บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4

                                ประจำวันพฤหัสบดี ที่ 18 กันยายน 2557


นำเสนองานในหัวข้อทักษะภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  ฟัง พูด อ่าน เขียน

1. การฟัง   กลุ่ม 101
   ทักษะการฟัง 
การฟังคือ กระบวนการของการได้ยินแล้วใช้เสมอแปลความหมาย
วัย 2 ขวบ ชอบฟังอะไรที่มันสั้นๆ และเสียงของธรรมชาติ






2.การพูดสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่ม 101 ,102
 เด็กสามารถพูดออกเป็นคำได้ตั้งแต่ 9-10 เดือน และเริ่มเลียนแบบเสียงที่เขาได้ยิน
2-3 ขวบ จะเริ่มรู้คำศัพท์เพิ่มมากขึ้น จาก 50 คำ เป็น 300 คำ
เมื่อ 3 ขวบ สามารถพูดประโยคที่ซับซ้อนขึ้นได้

พัฒนาการทางด้านภาษา
-การรับรู้และการเข้าใจภาษา
-การแสดงออกและการพูด

แนวทางการสอนเด็กปัญญาอ่อน
-เวลาสอนควรใช้ภาษาระดับเดียวกัน
-ในระยะแรกเริ่มสอนตั้งแต่คำพยางค์เดียวก่อน

อนุบาล 1 ชอบพูดเป็นคำ คำเดียวโดดๆ
อนุบาล 2 พูดเป็นประโยชน์สั้นๆ
อนุบาล 3 ประโยชน์จะสมบูรณ์แบบ เริ่มมีคำวิเศษณ์เข้ามาในการพูด










3. การอ่าน    กลุ่ม 101, 102
       
 การอ่าน  คือ  กระบวนการที่ผู้อ่านรับรู้สารซึ่งเป็นความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และ ความคิดเห็นที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
วัยทารก (infant) : 1 ขวบปีแรก
        - 6-8 เดือนแรกเด็กทุกคนเริ่มสามารถรับรู้ความแตกต่างของหน่วยเสียงที่มีอยู่ในทุกภาษาทั่วโลกได้
        ก่อนอายุ 10 เดือนเด็กจะเริ่มปรับความสามารถให้เข้ากับหน่วยเสียงและไวยากรณ์ของภาษาแม่หรือผู้เลี้ยงดู
        - หลังจากอายุ 10 เดือนความสามารถดังกล่าวเริ่มจำกัดการพัฒนาอยู่เฉพาะในภาษาแม่
วัยเตาะแตะ (toddler) : 1-3 ปี
        - เด็กให้ความสนใจเสียงที่เด็กไม่สามารถพูดได้
        - แสดงความสนใจเสียงหรือกลุ่มเสียงที่เหมือนกันเมื่อมีการอ่านกลอน หรือเล่าเรื่องนิทานที่มีคำคล้องจอง
        - เริ่ม มีการเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษร เช่น เมื่อเด็กอ่านหนังสือกับผู้เลี้ยงดู เด็กจะชี้และพยายามออกเสียงตามตัวอักษร หรือใช้คำจากภาษาพูดเพื่อเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษร เช่น /d/daddy, /b/bee, /ก/ไก่, /จ/จาน
วัยก่อนเรียนระยะต้น(early preschool) : อายุ 3-4 ปี
       -  มีความสนใจเสียงต่าง ๆ ของภาษา โดยเฉพาะ "คำคล้องจอง" (rhyme) ที่มีในเพลง
        -  บอกตัวอักษรได้ 10 ตัว โดยเฉพาะตัวอักษรที่อยู่ในชื่อของเด็ก
วัยก่อนเรียนระยะปลาย(late preschool) : อายุ 4-5 ปี           - สามารถ แยกพยางค์ในคำที่ฟังได้ (ร้อยละ 50 เด็กสามารถบอกจำนวนพยางค์ในคำที่ฟังได้) wa แก้ว-น้ำ, water (เช่น แก้วน้ำ-ter เป็นคำที่มีสองพยางค์ เป็นต้น)
            - เริ่มแยกหน่วยเสียงย่อย ในคำที่ฟังได้ (ร้อยละ 20 เด็กสามารถบอกจำนวนหน่วยเสียงย่อยในคำที่ฟังได้)
วัยอนุบาลตอนต้น(beginning kindergarten) : อายุ 5-5 ½ ปี
        
สามารถเปรียบเทียบคำสองคำที่ฟังว่าคล้องจองกันหรือไม่ (เช่น กา-ขา, cat-bat)
        
สามารถบอกคำที่มีเสียงคล้องจองกับคำที่ฟังได้
        
สามารถบอกตัวอักษรได้เกือบทุกตัว





4. การเขียน กลุ่ม 101, 102
การเขียนของเด็กปฐมวัย คือ การเขียนถ่ายทอดเรื่องราวความคิดออกมาอย่างมีความหมาย

อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเขียน
-มือ
-ตา
-สมองหรือสติปัญญา
  
กิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียน
-กิจกรรมภายในครอบครัว
-กิจกรรมจากทางโรงเรียน เช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์




5. อาจารย์สอนร้องทบทวนเพลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว


สิ่งที่ได้และนำไปใช้ในอนาคต





สิ่งที่ได้ในวันนี้ทำให้เราสามารถนำทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้ต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะ อาชีพครูมีความจำเป็นมากๆที่จะใช้ทักษะเหล่านี้ในการประกอบวิชาชีพครู

ประเมินตัวเอง
ตั้งใจเรียนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนกล้าแสดงออก

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้นำเสนองานฝึกให้นักศึกษากล้าแสดงออก 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนกล้าแสดงออกโดยการออกไปนำเสนองานแต่ก็มีเพื่อนบางคนไม่ตั้งใจฟังการนำเสนอในส่วนรวมถือว่าดีมาก

                             
                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น